Need to pass a drug test? SEE HOW IT WORKS!
Woman attracts Men

สวยใส สไตล์เกาหลี

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรังผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะมีการตอบสนองรุนแรงผิดปกติต่อสารบางชนิดที่มีอยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเข้าสู่ร่างกายได้โดยปนมากับอากาศที่หายใจ เช่น ฝุ่น มูลไร แบคทีเรีย เกสรพืช เชื้อรา ฯลฯ ปนมากับอาหารที่รับประทานหรือมาสัมผัสร่างกายโดยตรง เมื่อสารนั้นเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดมีสาร Histamine, Cyteinyl leukotrienes ฯลฯ หลั่งในร่างกาย ทำให้เกิดอาการแพ้ได้กับอวัยวะหลายระบบ
ถ้าเกิดกับ ทางเดินหายใจส่วนบน จะทำให้มีอาการหวัดเรื้อรัง คัดจมูก คันจมูก มีน้ำมูก มีเสมหะ ไหลลงคอ จุกในช่องคอ คันคอ เจ็บคอเป็นประจำ มีเลือดกำเดาบ่อยๆ คันหู ปวดหู หูอื้อ เวียนศีรษะ ถ้าเกิดกับ หลอดลม จะทำให้มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม ไอเรื้อรัง หอบหืด ถ้าเกิดกับ ผิวหนัง จะทำให้เป็นลมพิษผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ ถ้าเกิดกับ ทางเดินอาหาร จะทำให้คันเพดานปาก ลิ้นเป็นฝ้าขาว ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นแผลในปากบ่อยๆ ถ้าเกิดกับ ตา จะทำให้มีอาการ คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะบริเวณหัวคิ้วรอบกระบอกตาและบริเวณท้ายทอย ฯลฯ
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่ติดต่อกัน แต่จะถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากทั้งพ่อและแม่ไปสู่ลูก (Multiple gene defect) ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาของแพทย์นั้น หวังผลเพียงให้ผู้ป่วยไม่มีอาการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆขึ้น เพราะถ้าปล่อยให้มีอาการเรื้อรังอยู่นานๆไม่รักษา อาจเกิดหูอื้อจนการได้ยินสูญเสียไปอย่างถาวร (Serous-Adhesive otitis media) หรือมีเนื้องอกในจมูก (Nasal polyp) เกิดขึ้น หรือเป็นไซนัสอักเสบได้ (ไซนัสอักเสบอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ผนังกั้นโพรงจมูกคด มีเนื้องอก มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก รากฟันบนอักเสบ ฯลฯ) ผู้ป่วยอาจมีอาการหอบหืดอย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายได้

ประเภทของโรคภูมิแพ้

-โรคภูมิแพ้ของผิวหนัง

อาการแพ้นั้นเกิด ได้ทุกระบบของร่างกาย เช่น อาการแพ้ทางผิวหนัง เช่น กินอาหารทะเลทีไร ผิวหนังก็เป็นผื่นคันทุกทีหรือที่เรียกว่าลมพิษ urticaria ทั้งชนิดฉับพลันและชนิดเรื้อรัง ผื่นผิวหนังอักเสบ eczema หลายชนิดที่เกิดจากสาเหตุการแพ้เช่นกัน ผู้ป่วยมีอาการคันทรมานมาก และมักจะรักษาไม่ค่อยหาย

-โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ

โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ มี อาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ชนิดอาการที่ไม่มากนัก เช่น น้ำมูกไหล จาม เสมหะมาก โพรงจมูกอักเสบ rhinitis อาการที่หนักขึ้นไปอีก เช่น หลอดลมบีบตัว หายใจไม่สะดวกหรือที่เรียกว่า หอบหืด asthma

ส่วนกรณีอาการรุนแรง ก็ มีหลอดลมหดเกร็ง หลอดลมเล็กๆ ในปอดหดเกร็งหมด อวัยวะในการหายใจ เช่น กะบังลมก็หดเกร็ง แน่นหน้าอกมาก และตาย เช่น รายแพ้ยาช็อกตาย anaphylaxis เป็นต้น

-โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินอาหาร

ระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ปากจนถึงลำไส้ อาจ เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ปากเป็นแผล คันเพดานปาก กระเพาะ ลำไส้มีการอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก ท้องอืด เรอ มีแก๊สในกระเพาะลำไส้ อึดอัด หลังรับประทานอาหาร และเป็นตะคริว

บางคนลำไส้อาจมีการอักเสบเรื้อรัง เช่น บางคนอาจแพ้โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีในข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ โปรตีนชนิดนี้เรียกว่ากลูเด็น gluten sensitivity จะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ต่อมาทำให้มีความรู้สึกไวต่ออาหารอื่นๆ บางชนิดต่อไปอีก ซึ่งอาจจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสียเล็กน้อย เรื้อรังไปเรื่อย ๆ

-อาการอื่นๆ

นอกจากนี้ยังพบว่ามีอาการตาอักเสบ conjunctivitis คันมากแต่ไม่เจ็บ น้ำตาไหลตลอดเวลา ตาฝ้าฟาง รู้สึกว่ามีเสียงในหู ปวดหู มีน้ำในหู บางครั้งทำให้การได้ยินเสียงเสียไป หูอักเสบเป็นประจำ otitis หรือแม้กระทั่งปัญหาข้อกระดูก มีการอักเสบ ปวดข้อ อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงเหงาหาวนอนอย่างหนัก ภายหลังกินอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ แต่บางคนก็มีอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงและถี่

แนวทางการรักษา

  1. การรักษาโรคภูมิแพ้เบื้องต้น วิธี ที่ง่ายที่สุดและได้ผลดีที่สุดคือเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นสารอาหารประเภทแร่ธาตุซีเลเนียม, สังกะสี, กรดอะมิโนบางชนิด, กรดไขมันไม่อิ่มตัวบางชนิด, วิตามินซี, สารพวกฟลาโวนอยด์ และเอนไซม์ หรือสารต่อต้านอนุมูลอิสระบางอย่าง
  2. การรักษาโดยวิธีธรรมชาติ จะช่วยแก้ไขบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ได้มากพอสมควร
  3. หากอาการต่างๆ ไม่ทุเลาหรือเป็นมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

รับประทานยาฆ่าเชื้อบ่อย หนึ่งในสาเหตุของโรคภูมิแพ้

การใช้ยาฆ่าเชื้อ หรือ แอนตี้ไบโอติกantibiotic พบว่า การใช้ยาฆ่าเชื้อแต่ละครั้ง ได้ทำลายแบคทีเรียดี ๆ ในลำไส้ ที่เป็นตัวย่อยสลายสารต่างๆ พบว่า การที่ขาดความสมดุลนี้ทำให้คนไม่สามารถแยกแยะระหว่างสารก่อภูมิแพ้จริง หรือสารเคมีปกติได้ ทำให้ภูมิไวเกินต่อทุกสารเคมี

ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราผู้ป่วยภูมิแพ้และหอบหืดเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และหาสาเหตุไม่ง่ายนัก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การสร้างบ้านที่ทำให้ปราศจากฝุ่นนี่เอง หรือไม่เช่นนั้นก็อาหารบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น ส่วนยาฆ่าเชื้อนั้น เพิ่งมีหลายการศึกษาพบว่ามีความสำคัญทางสถิติ เช่นการศึกษาในเยอรมัน ก่อนการทำลายกำแพงเบอร์ลินที่แยกระหว่างตะวันตกและตะวันออก พบว่า ผู้ที่อยู่ในเยอรมันตะวันออก ที่มีสภาพความเป็นอยู่ด้อยและปราศจากยาฆ่าเชื้อ มีอุบัติการการเป็นหอบหืดน้อยกว่าเยอรมันตะวันตก (ทั้งที่เป็นเยอรมัน และอยู่ติดกันเพียงแต่มีกำแพงกั้น) และเมื่อทำลายกำแพงลง พบว่า อัตราการเป็นหอบหืดและการใช้ยาฆ่าเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเท่าๆ กัน

การทดลองทำโดยปล่อยสปอร์ของเชื้อรา ให้หนูสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ยาฆ่าเชื้อในระยะเวลาหนึ่ง อีกกลุ่มคือหนูปกติ พบว่า ในหนูที่ได้ยาฆ่าเชื้อมาก่อน มีภูมิคุ้มกันตอบสนองสูงมากกว่า และเกิดอาการในปอดมากกว่าอย่างชัดเจนต่อเชื้อราที่ปกติไม่ก่อให้เกิดอาการ อะไร

คณะผู้วิจัย สันนิษฐานว่า แบคทีเรียในลำไส้ จะเป็นตัวปรับภูมิคุ้มกัน ให้รู้จักแยกแยะสารที่ปกติ และสารที่อันตราย

ผลจากการวิจัย ชี้แนะให้เราว่า ควรใช้ยาฆ่าเชื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และเมื่อรักษาเสร็จ น่าจะหาวิธีที่จะเพิ่มแบคทีเรียปกติให้กลับสู่สภาพเดิม

การรับประทานอาหารประเภทผลไม้ ผักสด ช่วยในสมดุลนี้ด้วยเช่นกัน

การป้องกันโรคภูมิแพ้

1. หลีกเลี่ยงจากสารที่ผู้ป่วยแพ้ โดยสังเกตอาหารที่รับประทาน ขจัดมลภาวะ เช่น ฝุ่น ควันบุหรี่ ควันรถ ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ทำสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เช่น ใช้เครื่องปรับอากาศ เครื่องกรองอากาศ เครื่องผลิตโอโซน ใช้ที่นอนหมอนยางพารา ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนที่ป้องกันตัวไรฝุ่น เป็นต้น
2. แนะนำผู้ป่วย ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ทดสอบภูมิแพ้ เพื่อฉีดวัคซีน (Hyposensitization) กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อสารที่ผู้ป่วยแพ้

การรักษา


1. รับประทานยา ฉีดยาหรือพ่นยาแก้แพ้เป็นประจำ
2. รักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อของทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูอักเสบ หลอดลมอักเสบ
3. ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้น เช่น ตัดเนื้องอกในจมูก ขูดต่อมแอดีนอยด์ (Adenoid) หลังโพรงจมูกออก ขยายโพรงจมูก (Functional nasal surgery) ให้กว้างขึ้น แก้ไขภาวะอุดตันของโพรงไซนัส (Osteomeatal complex) และโพรงจมูก เพื่อให้หายใจสูดและสั่งน้ำมูกได้สะดวก สามารถใช้โพรงจมูกและโพรงไซนัสกรองอากาศให้สะอาด ปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม ก่อนหายใจผ่านช่องคอและกล่องเสียงเข้าสู่ปอด
การควบคุมโรคภูมิแพ้นั้น แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรใช้วิธีใดหรือหลายๆวิธีร่วมกัน เพื่อป้องกันและรักษาไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้หรือเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นกับว่าผู้ป่วยจะสามารถปฏิบัติตนตามคำแนะนำของ แพทย์ได้สม่ำเสมอ…หรือไม่


ที่มาข้อมูล http://www.pharm.chula.ac.th



โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (อังกฤษ: Hypertension) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ การที่ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯ

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้

  1. อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 แต่ก็ไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป อาจวัดได้ 120/70 เท่าเดิมก็ได้
  2. เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าความดันซิสโตลิกอาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น
  3. จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน
  4. เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง
  5. พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ ในครอบครัว สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
  6. สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท
  7. เชื้อชาติ พบว่าชาวแอฟริกันอเมริกันมีความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว
  8. ปริมาณเกลือที่ รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับ ประทานเกลือน้อย ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นตอนเหนือรับประทานเกลือมากกว่า 27 กรัม/วัน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึง 39% ส่วนชาวญี่ปุ่นตอนใต้รับประทานเกลือวันละ 17 กรัม/วัน เป็นมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพียง 21%
ระดับความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง

  • ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท
  • ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท
  • ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท

การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ

อาการของผู้ป่วย

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ

ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีด้วยกันคือ

  • กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
  • กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้

จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจ วายถึง 60-75 % , เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20-30 % และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 %

ภาวะแทรกซ้อน

  • หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด
  • อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำใหเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง
  • เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อม ทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก
  • หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเหยาะ หรือว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้ง/สัปดาห์
  2. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
  3. ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  4. ลดความเครียดของงานและภาวะแวดล้อม
  5. ลดน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ความอ้วนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูง
  6. รับประทานยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตและปรับยาให้เหมาะสม
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การปฏิบัติต่อไปนี้สามารถช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้
- การลดน้ำหนัก
- การลดปริมาณเกลือในอาหาร
- การงดหรือลดการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ข้อมูลจาก

http://th.wikipedia.org/wiki

http://www.vibhavadi.com

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรคมะเร็งปอด


มะเร็งปอด


ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้ง ในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศ หญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่(80-90%)เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี มะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50-75 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80%) จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และ ประมาณ 5% จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่ นผู้ที่สูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นจะมี ความเสี่ยง ต่อ การเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 26% จำนวนมวนของบุหรี่ที่สูบต่อวันและ ชนิดของบุหรี่ที่สูบจะสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดผู้ที่สูบ บุหรี่10-13% จะเกิด มะเร็งปอดภายในเวลา 30-40 ปี อย่างไรก็ตามถ้าเลิกสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราการเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งปอดลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในเวลา 10-15 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ และ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด

สารก่อมะเร็งที่อาจเป็นสามเหตุของโรคในผู้ป่วย10-15%ซึ่ง ไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ แอสเบสตอส (ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตผ้าเบรครถยนต์ เป็นต้น) โดยเฉพาะถ้าผู้นั้นสูบบุหรี่ด้วย จะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งสูงถึง 50 เท่า สารก่อมะเร็งอื่นได้แก่ แร่เรดอน มลภาวะใน อากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การฉายรังสีเพื่อรักษา

มะเร็ง ชนิดอื่นก็อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ร่วม ด้วย นอกจากนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มะเร็งปอดเป็นโรคที่ตรวจค้นหาในระยะ เริ่มแรกได้ยาก การนำเอาผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ชายสูบบุหรี่อายุเกิน 40 ปี) มาตรวจ เสมหะและเอ็กซเรย์ปอดเพื่อพยายามจะลดอัตราการตายจากโรคมะเร็ง พบว่า สามารถพบ ผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรกมากขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราตายลงได้ การล้มเหลวจากการนี้ เชื่อว่า เนื่องจากมะเร็งปอดแม้จะมีขนาดเล็กก็พบการแพร่กระจายได้สูงมะเร็งปอด มักจะ เริ่มมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการที่พบได้แก่ อาการไอ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อย และเจ็บลึกที่หน้าอก หายใจลำบากจากน้ำท่วมปอด เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีอาการเนื่องจากมะเร็๋งลุกลามหรือแพร่กระจาย เช่น เสียงแหบ อาการทางสมอง ปวดกระดูก เป็นต้น


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด

  • สูบบุหรี่ จำนวนปีที่สูบ อายุที่เริ่มสูบ จำนวนบุหรี่ที่สูบ สูบแต่ละครั้งลึกแค่ไหน ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอด
  • สูบ cigars และ pipes
  • ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของผู้สูบบุหรี่
  • สัมผัสสาร Randon เป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน ผู้ป่วยทีทำงานเหมืองจะมีโอกาสเสี่ยง
  • ใยหิน Asbestos ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองใยหินมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
  • ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน
  • โรคปอด โดยเฉพาะวัณโรคมะเร็งจะเกิดบริเวณที่เป็นแผลเป็นวัณโรค
  • ผู้เคยเป็นมะเร็งปอดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าคนปกติ

อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ไอเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจเหนื่อย เสียงแหบ
  • เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
  • หน้าและคอบวม
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การวินิจฉัย
  1. Brochoscopy คือการส่องกล้องเข้าทางปาก ลงหลอดลม และเข้าปอดเพื่อตัดชิ้นเนื้อ<
  2. Needle aspiration คือใช้เข็มเจาะผ่านผนังทรวงอกเข้าปอด และเข้าเนื้อร้ายแล้วดูดเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจ<
  3. Thoracenthesis คือใช้เข็มเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  4. Thoracotomy คือผ่าเข้าในทรวงอกและตัดเนื้อร้ายออก

หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเพื่อจะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยังโดยการตรวจดังนี้

  • CAT [Computed tomography] เป็นการ x-ray computer เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง
  • MRI [magnetic resonance imaging] ใช้คลื่นแม่เหล็กตรวจ
  • Scan โดยใช้สารอาบรังสีฉีดเข้ากระแสเลือดและวัดรังสีที่อวัยวะนั้น เช่น ตับ กระดูก
  • Mediastinoscopy เป็นการส่องเข้าในช่องอกเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรือยัง

การรักษา

  1. การผ่าตัด แพทย์จะผ่าเอาเนื้อร้ายออกบางครั้งอาจต้องตัดปอดออกบางกลีบ lobectomy หรือตัดทั้งปอด pneumectomy
  2. เคมีบำบัด การให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไปแล้วอาจมีมะเร็งบางส่วนหลงเหลือจึงให้เคมีบำบัดเพื่อทำลายส่วนที่เหลือ
  3. รังสีรักษา อาจให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็ง แพทย์อาจให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา
  4. Photodynamic therapy โดยการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือด สารนั้นจะอยู่ที่เซลล์มะเร็งแล้วใช้ laserเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

  1. ควรรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
  2. ไม่รับเลือดนอกจากกรณีจำเป็น
  3. ลด งด หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสงคั่วที่มีสารอะฟลาทอกซิน
  5. งดการฉีดยาเข้าเส้น งดการเสพยาเสพติดโดยการฉีด
  6. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น
  7. ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสบี และซี ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์
ข้อมูลจาก

www.siamhealth.net
http://www.nci.go.th
http://www.bangkokhealth.com






โรคมะเร็งตับ





ชนิดของมะเร็งตับ
  1. Angiosarcomas or hemangiosarcomas เกิดจากเซลล์หลอดเลือดในตับพบมากในผู้ป่วยที่สัมผัส vinyl chloride or to thorium dioxide (Thorotrast) สารvinyl chloride เป็นสารเคมีที่ใช้ในงานพลาสติก มะเร็งชนิดนี้พบน้อย แพร่กระจายเร็วส่วนมากผ่าตัดไม่ได้ การรักษาให้เคมีบำบัด
  2. Cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ภาคอิสาน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีพยาธิใบไม้ในตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งนี้พบได้ 13%ของมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เนื่องจากก้อนมีขนาดใหญ่ทำให้ผ่าตัดได้ไม่หมดมักต้องให้เคมีบำบัด และฉายแสงมักจะมีอายุ 6 เดือนหลังการวินิจฉัย
  3. Hepatoblastoma เป็นมะเร็งพบในเด็ก ถ้าพบในระยะเริ่มต้นการผ่าตัดจะได้ผลดี
  4. Hepatocellular carcinoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเซลล์ของตับ

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ

อัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งตับ เฉลี่ยระหว่างผู้ชายและผู้หญิงคือ 4.6 : 1 คือพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่แล้วจะพบในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ดังต่อไปนี้คือ

  1. ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี จะพบในอัตรา 0.4–0.6 % ของผู้ป่วยดังกล่าว
  2. ผู้ป่วยที่เป็นโรค ไวรัสตับอักเสบซี
  3. ผู้ ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส จากการใช้ยา จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากธาตุเหล็กและแคลเซี่ยม
  4. ผู้ป่วยที่ได้รับสารอะฟลาทอกซิน
  5. ผู้ป่วยที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี
  6. ยาฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้รักษาโรคโลหิตจาง หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
  7. สารหนู หากได้รับติดต่อกันก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
  8. สูบบุหรี่ บางรายงานกล่าวว่าการสูบบุหรี่ทำให้มะเร็งตับเพิ่ม
อาการของโรคมะเร็งตับ
  1. ไม่แสดงอาการผิดปกติทางร่างกาย แต่จะตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจเลือด
  2. มีอาการปวดแน่นท้อง
  3. น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย และมีไข้
  4. เบื่ออาหาร
  5. มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และขาบวม
  6. มีอาการเลือดออกง่าย อาเจียนเป็นเลือด
  7. มีอาการซึมและสับสน

วิธีการตรวจหามะเร็งตับ

ตรวจหาสารอัลฟลาฟีโตโปรตีน : เป็นสารที่เป็นตัวบ่งชี้ เพื่อการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับ หากตรวจพบสารอัลฟลาฟีโตโปรตีนในเลือดมีระดับสูงมากก็จะช่วยในการวินิจฉัยโรค ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับประมาณ 60 % จะตรวจพบสารนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก

การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพ : มีอยู่หลายวิธี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนด การตรวจว่าจะใช้วิธีใด หรือหลายวิธีรวมกัน เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค คือ

  1. การทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อหาความผิดปกติของตับ
  2. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  3. การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แพทย์จะใช้ผลการตรวจด้วยภาพประกอบกับผลการตรวจระดับ อัลฟ่าฟีโตโปรตีน ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ

การตรวจคัดกรอง : เป็นการตรวจโดยอาศัยปัจจัยอื่นโดยรอบเข้ามาประกอบการวินิจฉัยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ

  1. ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง จากทุกสาเหตุ
  2. ผู้ป่วยที่มีที่อาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ ซี
  3. ผู้ป่วยที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงควรปฏิบัติดังนี้

  1. ตรวจเลือด ตรวจการทำงานของตับ ตรวจค่าบ่งชี้การเป็นมะเร็งตับ ทุก 3–6 เดือน
  2. ตรวจอัลตราซาวด์ทุก 6 เดือน

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเป็นโรคมะเร็งตับ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ควรรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
  2. ไม่รับเลือดนอกจากกรณีจำเป็น
  3. ลด งด หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท
  4. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสงคั่วที่มีสารอะฟลาทอกซิน
  5. งดการฉีดยาเข้าเส้น งดการเสพยาเสพติดโดยการฉีด
  6. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น
  7. ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสบี และซี ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์
ข้อมูลจาก www.siamhealth.net
และ www.bangkokhealth.com




วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ความรู้เบื้องต้นเรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ทั่วๆไปลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ลำไส้ใหญ่ที่อยู่ในช่องท้อง หรือ โคล่อน (colon) กับลำไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน หรือ เร็คตั่ม (rectum) มะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับลำไส้ใหญ่ทุกๆ ส่วน มะเร็งลำไส้ใหญ่ของทั้ง 2 ส่วนจะมีลักษณะโรค และวิธีการรักษาจะแตกต่างกันบ้าง แต่สาเหตุการตรวจวินิจฉัยและระยะโรคจะคล้ายคลึงกัน
มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอุบัติการณ์สูงกว่าในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่สามารถพบได้ในทุกอายุ จะพบได้น้อยกว่าในอายุต่ำกว่า 40 ปี อุบัติการณ์ในเพศชายจะสูงกว่าในเพศหญิง

สาเหตุการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ได้ข้อสรุปชัดเจนว่า อะไรเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่พบว่ามีหลาย ๆ ปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์ หรือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ ได้แก่
1.พันธุกรรม ทั้งชนิดพันธุกรรมที่ถ่ายทอด และพันธุกรรมที่ไม่ถ่ายทอด ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ใหญ่ หรือเกิดเป็นก้อนเนื้อโพลิบ (polyp) ของลำไส้ใหญ่
2.อาหาร บางการศึกษาวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารไขมันสูง หรืออาหารที่ขาดใยอาหาร ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่า
3.บางการศึกษาพบว่า การขาดสารอาหารบางชนิดอาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งใน ลำไส้ใหญ่ ได้สูงกว่าผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน
4.การรับประทานผัก ผลไม้ ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อเทียบกับการรับประทาน อาหารกลุ่มอื่น
อาการและอาการแสดงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

ไม่มีอาการเฉพาะของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่จะเป็นอาการเช่นเดียวกับอาการของโรคลำไส้ทั่ว ๆ ไป เช่น
1.ท้องผูก สลับท้องเสีย อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
2.อุจจาระเป็นมูกเลือด เป็นเลือดสด หรือสีดำคล้ายสีถ่าน
3.ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ
4.ปวดท้องอย่างรุนแรง
5.อาจมี คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หรือ ซีดโดยไม่รู้สาเหตุ
6.อาจคลำก้อนได้ในท้อง

การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการตรวจหาระยะของโรค

1.จากประวัติและการตรวจร่างกาย ประกอบ อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วย รวมทั้งการตรวจทางทวารหนัก
2.การตรวจ และ/หรือ การตรวจปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการ
3.อาจมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ด้วยการสวนแป้งทางทวารหนัก
4.การส่องกล้องทางทวารหนัก และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางด้านพยาธิวิทยา เพื่อหาโรคมะเร็ง
โดยฉายวันละ 1 ครั้ง ฉายติดต่อกัน 5 วันใน 1 สัปดาห์ หรือหยุดตามวันหยุดราชการ และวันเสาร์ อาทิตย์ เป็นต้น
เคมีบำบัด คือการให้ยาสารเคมี ซึ่งอาจให้ก่อนการผ่าตัด และ/หรือหลังผ่าตัด ร่วมกับรังสีรักษา หรือไม่ก็ได้ การใช้เคมีบำบัดก็จะขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
ไม่จำเป็นต้องให้ในผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

การติดตามผลการรักษา

ภายหลังรักษาครบตามกระบวนการแล้ว แพทย์ยังจะนัดตรวจผู้ป่วย
สม่ำเสมอ โดยในปีแรกอาจนัดตรวจทุก 1 - 2 เดือน ภายหลังรักษาครบ 2 - 3 ปี ไปแล้วอาจนัดตรวจทุก 2 - 3 เดือน ภายหลัง 3 - 5 ปี อาจนัดตรวจทุก 3 - 6 เดือนและถ้าเกิน 5 ปีไปแล้ว อาจนัดตรวจทุก 6 - 12 เดือน
ในการนัดมาทุกครั้ง แพทย์จะซักประวัติ และทำการตรวจร่างกาย ส่วนการตรวจเพิ่มเติมอื่น เช่นการตรวจเลือด หรือ เอกซเรย์จะทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นรายๆ ไป ไม่เหมือนกัน
ผู้ป่วยควรมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ และควรนำญาติสายตรง หรือผู้ให้การดูแลผู้ป่วยมาด้วย เพื่อจะได้ร่วมปรึกษา เพื่อการดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
ในการตรวจหาระยะของโรค แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติม ทั้งนี้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ไม่จำเป็นต้องตรวจเหมือนๆ กันในผู้ป่วยทุกราย เช่น
1.การตรวจช่องท้องด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซีทีสะแกน (CT-scan)
2.การตรวจภาพเอกซเรย์ปอด
3.การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูการทำงานของ ตับ ไต หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น
4.การตรวจภาพสแกนกระดูก ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังมาก เพื่อตรวจว่าได้มีโรคแพร่กระจายไปกระดูกหรือไม่
5.การตรวจอัลตราซาวด์ตับ ถ้าสงสัยว่า มีโรคแพร่ไปตับ

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 โรคมะเร็งยังอยู่ในเยื่อบุลำไส้
ระยะที่ 2 โรคมะเร็งทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อของลำไส้ และ / หรือ ทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียง
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามตามกระแสโลหิตไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด หรือกระดูก เป็นต้น

ความรุนแรงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

ความรุนแรงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่

1.ระยะของโรค ระยะยิ่งสูงความรุนแรงของโรคก็มากขึ้น

2.สภาพร่างกาย และโรคร่วมอื่นๆ อันมีผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เช่น
โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยควรรักษาสภาพร่างกายให้แข็งแรง และควบคุมโรคอื่นๆ ให้ได้
3.อายุ ผู้ป่วยอายุน้อย มักมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามมากกว่า เพราะไม่ค่อยได้นึกถึงโรคมะเร็ง
ส่วนผู้ป่วยสูงอายุ มักมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษา
4.ขนาดของก้อนมะเร็ง ยิ่งมีขนาดโตมากความรุนแรงของโรคจะมากกว่าในผู้ป่วยซึ่งขนาดก้อนมะเร็งเล็กกว่า
5.การที่มีมะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง ความรุนแรงของโรคก็จะมากกว่าการไม่มีการลุกลามของโรค

วิธีรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มี 3 วิธีหลักที่สำคัญ ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และ เคมีบำบัด
***การผ่าตัด การรักษาหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ การผ่าตัด เอาลำไส้ส่วนที่เป็นโรค และต่อมน้ำเหลืองออกไป ในบางครั้งถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือ มะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่อยู่ติดกับทวารหนัก การผ่าตัดอาจมีความจำเป็นต้องทำทวารเทียม เอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่เปิดออกทางหน้าท้อง เป็นทางให้อุจจาระออก
***รังสีรักษา เป็นการรักษาร่วมกับการผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อน หรือหลังผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เป็นรายๆ ไป โดยแพทย์จะประเมินจากลักษณะการ
ลุกลามของก้อนมะเร็ง และโอกาสการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
โดยทั่วไป การฉายรังสีรักษา มักใช้ระยะเวลาประมาณ 5 - 6 สัปดาห์

ที่มาของข้อมูล
หน่วยรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix)

เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก

ไวรัสเอชพีวี มีทั้งหมดกว่า 100 ชนิด แต่ที่ทำให้ติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 30-40 ชนิด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงก่อมะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด


สำหรับความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีดำเนินได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อน และความแห้งได้ดี สามารถเกาะติดตามผิวหนัง อวัยวะเพศ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระจายอยู่รอบตัวในรูปของละอองฝุ่น ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี อย่าง ไรก็ตาม การติดเชื้อมักหายได้เอง ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย มีเพียง 10% เท่านั้น ที่การติดเชื้อยังดำเนินต่อไป สร้างความผิดปกติให้กับเยื่อบุปากมดลูก และทำให้กลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูก ได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 10-15 ปี

ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก


- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
- การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
- การสูบบุหรี่
- การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์
- การสูบบุหรี่
- พันธุกรรม
- การขาดสารอาหารบางชนิด

ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย

ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก

- ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
- ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน

อาการและการรักษา โรค มะเร็งปากมดลูก

โรค มะเร็งปากมดลูก มักพบในผู้หญิงอายุ 35 - 60 ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควรได้ ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

อาการตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90 ของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ลักษณะ เลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท

อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น

โรค มะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้

***ระยะ 0 คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 0 คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%

***ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 1 คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%

*** ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด (คีโม) ได้ผลราว 60%

*** ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30%

***ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 4 คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก บางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิต

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรค มะเร็งปากมดลูก

*** การผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจเกิดได้ ได้แก่ การตกเลือด การติดเชื้อ อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง
*** การฉายแสง (ระยะเวลา 1-2 เดือน) ผลข้างเคียง คือ ผิวแห้ง ปัสสาวะมีเลือดปน อ่อนเพลีย
*** ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงคือ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง มือเท้าชา ซึ่งขึ้นกับยาแต่ละชนิดที่เลือกใช้

ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรค มะเร็งปากมดลูก เมื่อใด

ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเชื้อ ะเร็งปากมดลูก หรือที่เรียกว่า แพปสเมียร์ (Pap Smear) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น

ทั้งนี้ แปปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็งปากมดลูก ที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์

วัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก

หลายๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูก มีหลายระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ

ทั้งนี้ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปี ซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อเอชพีวี ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีดวัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9 – 26 ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
***การฉีดวัคซีน HPV ก็ยังจำเป็นต้องตรวจแปปสเมียร์ควบคู่ด้วย เนื่องจากวัคซีนดังกล่าวสามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV ชนิด 16 และ 18 เท่านั้น จึงป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 70
ปัจจุบันวัคซีนมีราคาสูงมากราว 3,000-7,000 บาทต่อเข็ม แต่ในอนาคตรัฐบาลไทยอาจมีการอนุมัติให้วัคซีนดังกล่าวเข้าสู่บัญชีวัคซีน พื้นฐานที่เด็กต้องได้รับ เหมือนในประเทศอื่นๆ อาทิ ออสเตรเลียที่ฉีดให้วัยรุ่น 12-18 ปี
อย่าลืมหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ และความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคร้ายอาจทำลายคุณ

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปัญหาเรื่องโรคและปัญหาสุขภาพ: วิธีปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหัวใจ

วิธีดูแลและการปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเป็นโรคหัวใจ

วิธีปฏิบัติเมื่อเป็นโรคหัวใจ

10 วิธี ที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ

1.รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง

2.รับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร

3.รับประทานอาหารแต่พออิ่ม และควรพักหลังอาหารประมาณ ½ - 1 ชั่วโมง

4.ออก กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือ การเดิน เริ่มโดยการเดินช้าๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มระยะทาง แต่อย่าให้เกินกำลังของตนเอง

5.ทำจิตใจให้สงบ หาโอกาสพักผ่อน และหาวิธีลดความเครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น เช่น การดูเกมการแข่งขันที่เร้าใจ หรือทำกิจกรรมโลดโผน เป็นต้น

6.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและเค็มจัด

7.งดดื่มสุรา ชา กาแฟ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

8.หลีกเลี่ยงงานหนัก งานรีบเร่ง และงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องนานๆ

9.เมื่อ มีอาการเจ็บหน้าอก ให้หยุดกิจกรรมนั้นๆ ทันที และอมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด ถ้าอาการยังไม่ทุเลาลงให้อมยาใต้ลิ้นซ้ำได้อีก 1 เม็ด ห่างกัน 5 นาที แต่ไม่ควรเกิน 3 เม็ด หากอาการไม่ดีขึ้นใน 15-20 นาที ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

10.การมีเพศสัมพันธ์ไม่ควรหักโหม ควรอมยาใต้ลิ้นก่อนมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจขัด หรือเจ็บหน้าอกนานเกิน 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ควรปรึกษาแพทย์

วิธีป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ

ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน กะทิ รวมทั้งไข่แดง เพราะจะทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือด และก่อให้เกิดแผ่นคราบไขมันตามมาได้ ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากใยมาก ๆ เช่น รำข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ฯลฯ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง นานครั้งละ 20 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาและความถี่ในการออกกำลังกายไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและสารอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อผนังบุด้านในหลอดเลือด การสูบบุหรี่ยังทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว ซึ่งเป็นการลดปริมาณเลือดที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดกับงาน และทำสมาธิหรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้จิตใจสงบผ่อนคลาย

ก็ เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ รวมถึงควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไป โดยใช้วิธีออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น งดขนมหวาน ผลไม้รสหวานจัด เพราะหัวใจของคนอ้วนต้องทำงานมากกว่าปกติ และควรมีการตรวจเสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเป็น ๆ หาย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที

ขอบคุณที่มาของบทความ : http://learners.in.th/blog/auk-bio9/275783

โดยคุณ :
Auk..Bio9

โรคหัวใจ และวิธีป้องกันโรคหัวใจ



ทราบใหม่ว่าอะไรคือสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก
? ไม่ ใช่โรคเอดส์ ไม่ใช่ไข้หวัดนกและก็ไม่ใช่ภาวะขาดสารอาหาร (ทุพโภชนการ) หรือแม้แต่โรคมะเร็ง ฆาตกรอันดับหนึ่งของโลกคือ โรคหัวใจ ในปี พ.ศ.2548 ประชากรจำนวนถึง 17.5 ล้านคนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ซึ่งเท่ากับหนึ่งในสามของจำนวนการเสียชีวิต และผู้ที่เสียชีวิตเกือบทั้งหมด(80%) อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง

อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปยังไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงนี้ ดังนั้นศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาหารแห่งเอเซีย(AFIC) จึง ร่วมสนับสนุนวันหัวใจโลกที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 28 กันยายน นี้ เป้าหมายของวันหัวใจโลกคือการช่วยประชากร ให้มีอายุยืนยาวและมีสุขภาพดีขึ้นด้วยวิธีการขั้นตอนง่ายๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โดยในปีนี้ได้เน้นย้ำความสำคัญในเรื่องความดันโลหิตสูง(Hypertension) ซึ่งเป็นปัจจัยความเสี่ยงหลักของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจ, อวัยวะต่างๆ และหลอดเลือดทำงานหนักขึ้น

อัตรา การเกิดโรคความดันโลหิตทีเพิ่ม สูงขึ้นในเอเซียเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิต และการรับประทานอาหาร ในปี พ.ศ.2545 ประเทศจีนมีการรายงานการสำรวจ สถานภาพด้านโภชนการและสุขภาพว่า 18.8% ของชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 18 ปีมีความดันโลหิตสูง และในอินเดียพบว่าอัตรานี้สูงมากโดยผู้ใหญ่ถึง 1 ใน 2 มีความดันโลหิตสูงและความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในประเทศไทย 1 ใน 3 ของผู้ใหญ๋ที่อายุมากกว่า 35 ปีมีความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งกว่านั้น ตัวเลขนี้เพิ่มสูงขึ้นอีกถึง 45 % เมื่ออายุเกิน 55 ปี

มูลนิธิ หัวใจโลกคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2568 ประชากรในโลกมากถึง 1 ใน 3 คนจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ยิ่งกว่านั้นประชากรเกือบทั้งหมดไม่คาดคิดมาก่อนว่าตัวเอง มีปัญหาความดันโลหิตสูงจนกว่าจะได้รับการตรวจแพทย์ใช้เวลาเพียงแค่ 2-3 นาทีเท่านั้นในการวัดความดันโลหิตและการตัดสินใจนี้สามารถช่วยชีวิตคุณได้ ความดันโลหิตปกติควรจะอยู่ที่ระดับ 120/80 (ตัวเลขบนคือ ความดันโลหิตสูงสุดที่เกิดขึ้นหลังระยะการบีบตัวของห้องหัวใจ ขณะที่ตัวเลขล่างเป็นความดันเมื่อหัวใจคลายตัว) ความดันโลหิตสูงสามารถขึ้นและลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงเป็นความคิดที่ดีในการเข้ารับการตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง มีขั้นตอนการดำเนินชีวิตง่ายๆที่คุณสามารถนำไปปฏิบัติได้

- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

- เฝ้าระวังน้ำหนัก

- การอ้วนเกินไปจะเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น ทำให้หัวใจและหลอดเลือดต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายหมั่นออกกำลังกาย

- การทำร่างกายให้กระฉับกระเฉง นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวแล้ว ยังมีความสำคัญมากในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ การออกกำลังช่วยควบคุมความดันโลหิต ดังนั้นควรตั้งเป้าหมายการออกกำลังกายที่มีความหนักในระดับที่เหมาะสมให้ได้ อย่างน้อย 30 นาที (เช่น การเดินเร็ว) ให้ได้เกือบทุกวัน

- ระมัดระวังเกลือ การบริโภครสเค็มมาก ๆ เพิ่ม ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง เกลือทำให้ร่างกายเก็บกักน้ำไว้ในร่างกายมากกว่าปกติซึ่งเป็นการเพิ่มความ ดันหลอดเลือดเกลือที่มากเกินไปยังทำลายไต และทำให้ความสามารถในการขับของเสียออกจากร่างกายลดลง นอกจากนี้ยังรวมถึงเกลือที่ใส่ตอนปรุงอาหาร หรือเติมที่โต๊ะอาหารอีกด้วย ระวังเครื่องปรุงที่มีรสเค็ม เช่น ซอลถั่วเหลือง ซุปก้อนปรุงรส น้ำปลาและกะปิ

- เลือกการลดเกลือหรือลดอาหารและเครื่องปรุงรสที่มีเกลือต่ำ จำกัดการรับประทานของขบเคี้ยวรสเค็ม เช่น บ๊วยเค็ม

- รับประทานผักและผลไม้มากๆ การบริโภคผักและผลไม้มากๆ มีความสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการเกิดโรคหัวใจ ผลไม้และผักส่วนมากอุดมด้วยโปตัสเซี่ยมซึ่งมีบทบาทเป็นที่ประจักษ์ว่า ช่วยลดความดันโลหิต ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการแนะนำว่าควร รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5 หน่วย บริโภคต่อวัน(1 หน่วย บริโภคเท่ากับผลไม้ขนาดกลาง 1 ชิ้น หรือ ผักที่ปรุงสุกแล้ว 1/2 ถ้วย) คนส่วนมากไม่สามารถบริโภคได้ตามปริมาณนี้

จากรายงานการสำรวจทางโภชนาการและสุขภาพของจีนปี 2545 พบว่าปริมาณผลไม้โดยเฉลี่ยต่อวันที่ ผู้ใหญ่เพศชายบริโภคคือ 46 กรัม (แอปเปิล ลูกเล็ก1/2ผล) และผัก 275 กรัม(ประมาณ 2 หน่วยบริโภค) เท่านั้นจำกัดหรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์นั้นเพิ่มความดันโลหิต หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์หรือตั้งเป้าการดื่มไม่ให้เกิน 2 แก้ว มาตราฐานต่อวัน (1 แก้วมาตรฐานเท่ากับเบียร์ 1 กระป๋อง, 1 หน่วยตวงของสุรากลั่นหรือ 1 แก้วไวน์เล็ก)

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามกีฬา


บทความจาก : http://www.thaihealth.or.th/node/5825

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัคซีนการรักษาโรคไข้หวัค 2009




การรักษา

องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนว่าการฉีดวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่นั้นยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสนี้ได้ เพราะวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังไม่สามารถต้านเชื่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ในขณะนี้ แต่จากผลการทดสอบในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่สามารถรักษาได้ด้วยยาทามิฟลู และยารีเลนซาเป็นยาต้านไวรัสที่สามารถต้านไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ในขณะนี้ แต่ต้องรับยาภายใน 48 ชั่วโมง เพราะมีโอกาสที่เชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์ได้อีกในอนาคต


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เสื้อคู่ตัดพิเศษ ทุกไซด์

เสื้อครอบครัว / เสื้อคู่แม่ลูก

หมอนอิงคู่ / ชุดชั้นในเพื่อเธอ