- Angiosarcomas or hemangiosarcomas เกิดจากเซลล์หลอดเลือดในตับพบมากในผู้ป่วยที่สัมผัส vinyl chloride or to thorium dioxide (Thorotrast) สารvinyl chloride เป็นสารเคมีที่ใช้ในงานพลาสติก มะเร็งชนิดนี้พบน้อย แพร่กระจายเร็วส่วนมากผ่าตัดไม่ได้ การรักษาให้เคมีบำบัด
- Cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ภาคอิสาน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีพยาธิใบไม้ในตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งนี้พบได้ 13%ของมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เนื่องจากก้อนมีขนาดใหญ่ทำให้ผ่าตัดได้ไม่หมดมักต้องให้เคมีบำบัด และฉายแสงมักจะมีอายุ 6 เดือนหลังการวินิจฉัย
- Hepatoblastoma เป็นมะเร็งพบในเด็ก ถ้าพบในระยะเริ่มต้นการผ่าตัดจะได้ผลดี
- Hepatocellular carcinoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเซลล์ของตับ
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ
อัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งตับ เฉลี่ยระหว่างผู้ชายและผู้หญิงคือ 4.6 : 1 คือพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่แล้วจะพบในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ดังต่อไปนี้คือ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี จะพบในอัตรา 0.4–0.6 % ของผู้ป่วยดังกล่าว
- ผู้ป่วยที่เป็นโรค ไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส จากการใช้ยา จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากธาตุเหล็กและแคลเซี่ยม
- ผู้ป่วยที่ได้รับสารอะฟลาทอกซิน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี
- ยาฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้รักษาโรคโลหิตจาง หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
- สารหนู หากได้รับติดต่อกันก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
- สูบบุหรี่ บางรายงานกล่าวว่าการสูบบุหรี่ทำให้มะเร็งตับเพิ่ม
- ไม่แสดงอาการผิดปกติทางร่างกาย แต่จะตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจเลือด
- มีอาการปวดแน่นท้อง
- น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย และมีไข้
- เบื่ออาหาร
- มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และขาบวม
- มีอาการเลือดออกง่าย อาเจียนเป็นเลือด
- มีอาการซึมและสับสน
วิธีการตรวจหามะเร็งตับ
ตรวจหาสารอัลฟลาฟีโตโปรตีน : เป็นสารที่เป็นตัวบ่งชี้ เพื่อการวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งตับ หากตรวจพบสารอัลฟลาฟีโตโปรตีนในเลือดมีระดับสูงมากก็จะช่วยในการวินิจฉัยโรค ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับประมาณ 60 % จะตรวจพบสารนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก
การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพ : มีอยู่หลายวิธี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนด การตรวจว่าจะใช้วิธีใด หรือหลายวิธีรวมกัน เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค คือ
- การทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เพื่อหาความผิดปกติของตับ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แพทย์จะใช้ผลการตรวจด้วยภาพประกอบกับผลการตรวจระดับ อัลฟ่าฟีโตโปรตีน ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ
การตรวจคัดกรอง : เป็นการตรวจโดยอาศัยปัจจัยอื่นโดยรอบเข้ามาประกอบการวินิจฉัยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง จากทุกสาเหตุ
- ผู้ป่วยที่มีที่อาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ ซี
- ผู้ป่วยที่มีอาการตับอักเสบเรื้อรัง
สำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงควรปฏิบัติดังนี้
- ตรวจเลือด ตรวจการทำงานของตับ ตรวจค่าบ่งชี้การเป็นมะเร็งตับ ทุก 3–6 เดือน
- ตรวจอัลตราซาวด์ทุก 6 เดือน
การป้องกันโรคมะเร็งตับ
เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันการเป็นโรคมะเร็งตับ ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ควรรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- ไม่รับเลือดนอกจากกรณีจำเป็น
- ลด งด หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสงคั่วที่มีสารอะฟลาทอกซิน
- งดการฉีดยาเข้าเส้น งดการเสพยาเสพติดโดยการฉีด
- ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสบี และซี ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์
และ www.bangkokhealth.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น