มะเร็งปอด
ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้ง ในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศ หญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่(80-90%)เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี มะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50-75 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80%) จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และ ประมาณ 5% จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่ นผู้ที่สูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นจะมี ความเสี่ยง ต่อ การเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 26% จำนวนมวนของบุหรี่ที่สูบต่อวันและ ชนิดของบุหรี่ที่สูบจะสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดผู้ที่สูบ บุหรี่10-13% จะเกิด มะเร็งปอดภายในเวลา 30-40 ปี อย่างไรก็ตามถ้าเลิกสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราการเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งปอดลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในเวลา 10-15 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ และ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
สารก่อมะเร็งที่อาจเป็นสามเหตุของโรคในผู้ป่วย10-15%ซึ่ง ไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ แอสเบสตอส (ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตผ้าเบรครถยนต์ เป็นต้น) โดยเฉพาะถ้าผู้นั้นสูบบุหรี่ด้วย จะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งสูงถึง 50 เท่า สารก่อมะเร็งอื่นได้แก่ แร่เรดอน มลภาวะใน อากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การฉายรังสีเพื่อรักษา
มะเร็ง ชนิดอื่นก็อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ร่วม ด้วย นอกจากนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มะเร็งปอดเป็นโรคที่ตรวจค้นหาในระยะ เริ่มแรกได้ยาก การนำเอาผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ชายสูบบุหรี่อายุเกิน 40 ปี) มาตรวจ เสมหะและเอ็กซเรย์ปอดเพื่อพยายามจะลดอัตราการตายจากโรคมะเร็ง พบว่า สามารถพบ ผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรกมากขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราตายลงได้ การล้มเหลวจากการนี้ เชื่อว่า เนื่องจากมะเร็งปอดแม้จะมีขนาดเล็กก็พบการแพร่กระจายได้สูงมะเร็งปอด มักจะ เริ่มมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการที่พบได้แก่ อาการไอ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อย และเจ็บลึกที่หน้าอก หายใจลำบากจากน้ำท่วมปอด เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีอาการเนื่องจากมะเร็๋งลุกลามหรือแพร่กระจาย เช่น เสียงแหบ อาการทางสมอง ปวดกระดูก เป็นต้น
- สูบบุหรี่ จำนวนปีที่สูบ อายุที่เริ่มสูบ จำนวนบุหรี่ที่สูบ สูบแต่ละครั้งลึกแค่ไหน ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอด
- สูบ cigars และ pipes
- ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของผู้สูบบุหรี่
- สัมผัสสาร Randon เป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน ผู้ป่วยทีทำงานเหมืองจะมีโอกาสเสี่ยง
- ใยหิน Asbestos ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองใยหินมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
- ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน
- โรคปอด โดยเฉพาะวัณโรคมะเร็งจะเกิดบริเวณที่เป็นแผลเป็นวัณโรค
- ผู้เคยเป็นมะเร็งปอดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าคนปกติ
อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้
- ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
- เจ็บแน่นหน้าอก
- ไอเสมหะมีเลือดปน
- หายใจเหนื่อย เสียงแหบ
- เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
- หน้าและคอบวม
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- Brochoscopy คือการส่องกล้องเข้าทางปาก ลงหลอดลม และเข้าปอดเพื่อตัดชิ้นเนื้อ<
- Needle aspiration คือใช้เข็มเจาะผ่านผนังทรวงอกเข้าปอด และเข้าเนื้อร้ายแล้วดูดเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจ<
- Thoracenthesis คือใช้เข็มเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง
- Thoracotomy คือผ่าเข้าในทรวงอกและตัดเนื้อร้ายออก
หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเพื่อจะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยังโดยการตรวจดังนี้
- CAT [Computed tomography] เป็นการ x-ray computer เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง
- MRI [magnetic resonance imaging] ใช้คลื่นแม่เหล็กตรวจ
- Scan โดยใช้สารอาบรังสีฉีดเข้ากระแสเลือดและวัดรังสีที่อวัยวะนั้น เช่น ตับ กระดูก
- Mediastinoscopy เป็นการส่องเข้าในช่องอกเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรือยัง
การรักษา
- การผ่าตัด แพทย์จะผ่าเอาเนื้อร้ายออกบางครั้งอาจต้องตัดปอดออกบางกลีบ lobectomy หรือตัดทั้งปอด pneumectomy
- เคมีบำบัด การให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไปแล้วอาจมีมะเร็งบางส่วนหลงเหลือจึงให้เคมีบำบัดเพื่อทำลายส่วนที่เหลือ
- รังสีรักษา อาจให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็ง แพทย์อาจให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา
- Photodynamic therapy โดยการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือด สารนั้นจะอยู่ที่เซลล์มะเร็งแล้วใช้ laserเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
การป้องกันโรคมะเร็งตับ
- ควรรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
- ไม่รับเลือดนอกจากกรณีจำเป็น
- ลด งด หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน เช่น ถั่วลิสงคั่วที่มีสารอะฟลาทอกซิน
- งดการฉีดยาเข้าเส้น งดการเสพยาเสพติดโดยการฉีด
- ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น
- ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสบี และซี ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์
www.siamhealth.net
http://www.nci.go.th
http://www.bangkokhealth.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น