ถ้าเกิดกับ ทางเดินหายใจส่วนบน จะทำให้มีอาการหวัดเรื้อรัง คัดจมูก คันจมูก มีน้ำมูก มีเสมหะ ไหลลงคอ จุกในช่องคอ คันคอ เจ็บคอเป็นประจำ มีเลือดกำเดาบ่อยๆ คันหู ปวดหู หูอื้อ เวียนศีรษะ ถ้าเกิดกับ หลอดลม จะทำให้มีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม ไอเรื้อรัง หอบหืด ถ้าเกิดกับ ผิวหนัง จะทำให้เป็นลมพิษผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ ถ้าเกิดกับ ทางเดินอาหาร จะทำให้คันเพดานปาก ลิ้นเป็นฝ้าขาว ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นแผลในปากบ่อยๆ ถ้าเกิดกับ ตา จะทำให้มีอาการ คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะบริเวณหัวคิ้วรอบกระบอกตาและบริเวณท้ายทอย ฯลฯ
-โรคภูมิแพ้ของผิวหนัง
อาการแพ้นั้นเกิด ได้ทุกระบบของร่างกาย เช่น อาการแพ้ทางผิวหนัง เช่น กินอาหารทะเลทีไร ผิวหนังก็เป็นผื่นคันทุกทีหรือที่เรียกว่าลมพิษ urticaria ทั้งชนิดฉับพลันและชนิดเรื้อรัง ผื่นผิวหนังอักเสบ eczema หลายชนิดที่เกิดจากสาเหตุการแพ้เช่นกัน ผู้ป่วยมีอาการคันทรมานมาก และมักจะรักษาไม่ค่อยหาย
-โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ
โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ มี อาการได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ชนิดอาการที่ไม่มากนัก เช่น น้ำมูกไหล จาม เสมหะมาก โพรงจมูกอักเสบ rhinitis อาการที่หนักขึ้นไปอีก เช่น หลอดลมบีบตัว หายใจไม่สะดวกหรือที่เรียกว่า หอบหืด asthma
ส่วนกรณีอาการรุนแรง ก็ มีหลอดลมหดเกร็ง หลอดลมเล็กๆ ในปอดหดเกร็งหมด อวัยวะในการหายใจ เช่น กะบังลมก็หดเกร็ง แน่นหน้าอกมาก และตาย เช่น รายแพ้ยาช็อกตาย anaphylaxis เป็นต้น
-โรคภูมิแพ้ของระบบทางเดินอาหาร
ระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ปากจนถึงลำไส้ อาจ เกิดอาการแพ้ได้ เช่น ปากเป็นแผล คันเพดานปาก กระเพาะ ลำไส้มีการอักเสบ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก ท้องอืด เรอ มีแก๊สในกระเพาะลำไส้ อึดอัด หลังรับประทานอาหาร และเป็นตะคริว
บางคนลำไส้อาจมีการอักเสบเรื้อรัง เช่น บางคนอาจแพ้โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีในข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ โปรตีนชนิดนี้เรียกว่ากลูเด็น gluten sensitivity จะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ ต่อมาทำให้มีความรู้สึกไวต่ออาหารอื่นๆ บางชนิดต่อไปอีก ซึ่งอาจจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสียเล็กน้อย เรื้อรังไปเรื่อย ๆ
-อาการอื่นๆ
นอกจากนี้ยังพบว่ามีอาการตาอักเสบ conjunctivitis คันมากแต่ไม่เจ็บ น้ำตาไหลตลอดเวลา ตาฝ้าฟาง รู้สึกว่ามีเสียงในหู ปวดหู มีน้ำในหู บางครั้งทำให้การได้ยินเสียงเสียไป หูอักเสบเป็นประจำ otitis หรือแม้กระทั่งปัญหาข้อกระดูก มีการอักเสบ ปวดข้อ อาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง ง่วงเหงาหาวนอนอย่างหนัก ภายหลังกินอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้ แต่บางคนก็มีอาการนอนไม่หลับ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงและถี่
แนวทางการรักษา
- การรักษาโรคภูมิแพ้เบื้องต้น วิธี ที่ง่ายที่สุดและได้ผลดีที่สุดคือเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นสารอาหารประเภทแร่ธาตุซีเลเนียม, สังกะสี, กรดอะมิโนบางชนิด, กรดไขมันไม่อิ่มตัวบางชนิด, วิตามินซี, สารพวกฟลาโวนอยด์ และเอนไซม์ หรือสารต่อต้านอนุมูลอิสระบางอย่าง
- การรักษาโดยวิธีธรรมชาติ จะช่วยแก้ไขบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ได้มากพอสมควร
- หากอาการต่างๆ ไม่ทุเลาหรือเป็นมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
รับประทานยาฆ่าเชื้อบ่อย หนึ่งในสาเหตุของโรคภูมิแพ้
การใช้ยาฆ่าเชื้อ หรือ แอนตี้ไบโอติกantibiotic พบว่า การใช้ยาฆ่าเชื้อแต่ละครั้ง ได้ทำลายแบคทีเรียดี ๆ ในลำไส้ ที่เป็นตัวย่อยสลายสารต่างๆ พบว่า การที่ขาดความสมดุลนี้ทำให้คนไม่สามารถแยกแยะระหว่างสารก่อภูมิแพ้จริง หรือสารเคมีปกติได้ ทำให้ภูมิไวเกินต่อทุกสารเคมี
ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราผู้ป่วยภูมิแพ้และหอบหืดเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และหาสาเหตุไม่ง่ายนัก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การสร้างบ้านที่ทำให้ปราศจากฝุ่นนี่เอง หรือไม่เช่นนั้นก็อาหารบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น ส่วนยาฆ่าเชื้อนั้น เพิ่งมีหลายการศึกษาพบว่ามีความสำคัญทางสถิติ เช่นการศึกษาในเยอรมัน ก่อนการทำลายกำแพงเบอร์ลินที่แยกระหว่างตะวันตกและตะวันออก พบว่า ผู้ที่อยู่ในเยอรมันตะวันออก ที่มีสภาพความเป็นอยู่ด้อยและปราศจากยาฆ่าเชื้อ มีอุบัติการการเป็นหอบหืดน้อยกว่าเยอรมันตะวันตก (ทั้งที่เป็นเยอรมัน และอยู่ติดกันเพียงแต่มีกำแพงกั้น) และเมื่อทำลายกำแพงลง พบว่า อัตราการเป็นหอบหืดและการใช้ยาฆ่าเชื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเท่าๆ กัน
การทดลองทำโดยปล่อยสปอร์ของเชื้อรา ให้หนูสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ยาฆ่าเชื้อในระยะเวลาหนึ่ง อีกกลุ่มคือหนูปกติ พบว่า ในหนูที่ได้ยาฆ่าเชื้อมาก่อน มีภูมิคุ้มกันตอบสนองสูงมากกว่า และเกิดอาการในปอดมากกว่าอย่างชัดเจนต่อเชื้อราที่ปกติไม่ก่อให้เกิดอาการ อะไร
คณะผู้วิจัย สันนิษฐานว่า แบคทีเรียในลำไส้ จะเป็นตัวปรับภูมิคุ้มกัน ให้รู้จักแยกแยะสารที่ปกติ และสารที่อันตราย
ผลจากการวิจัย ชี้แนะให้เราว่า ควรใช้ยาฆ่าเชื้อเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และเมื่อรักษาเสร็จ น่าจะหาวิธีที่จะเพิ่มแบคทีเรียปกติให้กลับสู่สภาพเดิม
การรับประทานอาหารประเภทผลไม้ ผักสด ช่วยในสมดุลนี้ด้วยเช่นกัน
การป้องกันโรคภูมิแพ้
1. หลีกเลี่ยงจากสารที่ผู้ป่วยแพ้ โดยสังเกตอาหารที่รับประทาน ขจัดมลภาวะ เช่น ฝุ่น ควันบุหรี่ ควันรถ ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ทำสิ่งแวดล้อมให้สะอาด เช่น ใช้เครื่องปรับอากาศ เครื่องกรองอากาศ เครื่องผลิตโอโซน ใช้ที่นอนหมอนยางพารา ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนที่ป้องกันตัวไรฝุ่น เป็นต้น
2. แนะนำผู้ป่วย ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ทดสอบภูมิแพ้ เพื่อฉีดวัคซีน (Hyposensitization) กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อสารที่ผู้ป่วยแพ้
การรักษา
1. รับประทานยา ฉีดยาหรือพ่นยาแก้แพ้เป็นประจำ
2. รักษาโรคติดเชื้อแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อของทางเดินหายใจ ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูอักเสบ หลอดลมอักเสบ
3. ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติ ที่ทำให้มีอาการแพ้มากขึ้น เช่น ตัดเนื้องอกในจมูก ขูดต่อมแอดีนอยด์ (Adenoid) หลังโพรงจมูกออก ขยายโพรงจมูก (Functional nasal surgery) ให้กว้างขึ้น แก้ไขภาวะอุดตันของโพรงไซนัส (Osteomeatal complex) และโพรงจมูก เพื่อให้หายใจสูดและสั่งน้ำมูกได้สะดวก สามารถใช้โพรงจมูกและโพรงไซนัสกรองอากาศให้สะอาด ปรับอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม ก่อนหายใจผ่านช่องคอและกล่องเสียงเข้าสู่ปอด
การควบคุมโรคภูมิแพ้นั้น แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าควรใช้วิธีใดหรือหลายๆวิธีร่วมกัน เพื่อป้องกันและรักษาไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้หรือเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นกับว่าผู้ป่วยจะสามารถปฏิบัติตนตามคำแนะนำของ แพทย์ได้สม่ำเสมอ…หรือไม่
ที่มาข้อมูล http://www.pharm.chula.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น